ทุกหน่วยงานของคณะจะถูกดูแลอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยใช้เทคโนโลยีจัดการสมัยใหม่ โดยยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหาร เน้นการมีส่วนร่วมของประชาคม

 

ความพร้อมของผม

จดหมายเปิดผนึก
"การเสนอตัวเพื่อเข้ารับการสรรหาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์"


นายผดุงศักดิ์ รัตนเดโช

"การรับความคิดเห็นที่แตกต่างนำมาสู่ความสามัคคีและพลังสร้างสรรค"



ข้อมูลเชิงตัวเลขของคณะ
SWOT Analysis

นโยบายและแนวทาง
การบริหาร

เกี่ยวกับตัวผม

ความพร้อมวิชาการ


ความพร้อมทางวิชาการและการเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ

ตลอด 9 ปี ที่ผ่านมาในสถานะอาจารย์ผู้สอน ผมได้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างครบถ้วนทั้งในภาคของความเป็นครู ผมได้อุทิศเวลาให้กับการเรียนการสอนตั้งใจถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ลูกศิษย์ในทุกระดับ (ปริญญาตรี โท และเอก) อย่างตั้งใจและ ไม่ปิดบัง มีการปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ตามมาตรฐานสากล ทำให้กระบวนการเรียนการสอนและการวิจัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  เน้นการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ อีกทั้งยังแสวงหาแหล่งทุนจากภายนอกที่มีคุณภาพสูงด้วยตนเอง เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัยมูลค่าหลายล้านบาทต่อปี ตัวอย่างทุนจากภายนอกที่มีคุณภาพสูงที่ผมได้รับเช่น ทุนเมธีวิจัย สกว. 2 รอบ ทุนวุฒิเมธีวิจัย สกว. 2 รอบ ทุนส่งเสริมอุตสาหกรรม  สกว. 2  รอบ และทุนองค์กรอื่นๆอีกมากมาย โดยทุนทั้งหมดได้ใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก และผลิตอาจารย์นักวิจัยรุ่นใหม่ รวมกว่า 50 คนในรอบหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายสำรับคณะและมหาวิทยาลัยเป็นอย่างดี
นอกจากผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีไปแล้วหลายรุ่น ผมยังได้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาที่ผลิตบัณฑิตระดับปริญญาโทและเอกที่จบการศึกษาไปแล้วหลายคน คือระดับปริญญาโท 14 คน ระดับปริญญาเอก 8 คน  (เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ในต่างมหาวิทยาลัย 2 คน) และอยู่ระหว่างการศึกษาคือระดับปริญญาโท 2 คน ระดับปริญญาเอก 8 คน  โดยทั้งนี้ ผมได้รับทุนวิจัยจากแหล่งภายนอกเพื่อผลิตบัณฑิตระดับปริญญาเอกจำนวน 8 ทุน (คปก.  6 ทุน และ สกอ.2 ทุน)  ซึ่งนับเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนและการวิจัยอย่างดียิ่ง  ปัจจุบันนักศึกษาภายใต้การดูแลให้คำปรึกษา โดย ผม ในทุกระดับมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติที่มีคุณภาพสูงและได้รับรางวัลทางวิชาการทั้งในระดับชาติและนาๆชาติ เป็นประจำทุกปี
ผมยังได้รับเกียรติจาก สกว. ให้เป็นผู้ประเมินข้อเสนอโครงการเพื่อให้ได้รับทุนนักวิจัยรุ่นใหม่ รุ่นกลาง เมธีและวุฒิเมธีวิจัย สกว. และเป็นผู้ประเมินโครงการวิจัยอื่นๆของ สกว. สวทช. และสภาวิจัยในหลายปีที่ผ่านมา ผมยังเป็นผู้ทรงคุณวุฒิของ สกอ. ในการประเมินตำแหน่งทางวิชาการทั้งระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศกว่า 20 ราย
อีกทั้งผมยังเป็นนักวิจัยพี่เลี้ยง (Mentor) สำหรับนักวิจัยทุนพัฒนาศักยภาพในการทำวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ สกอ.-สกว. ซึ่งเป็นคณาจารย์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์รวม จำนวน 5 คน ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการของ กลุ่มอาจารย์ผู้ได้รับทุนนี้ อีกทั้งยังให้คำปรึกษากับคณาจารย์รุ่นใหม่ทั้งภายในภาควิชาและคณะฯ และนอกคณะอย่างต่อเนื่องในหลายปีที่ผ่านมา เป็นผลทำให้เกิดความร่วมมือในทางวิชาการอย่างแข็งขันและมีความเข้มแข็งทางวิชาการมากที่สุดกลุ่มหนึ่งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และของประเทศ เช่นกันผมยังคงอุทิศการทำงานในกิจกรรมอื่นๆของภาควิชา คณะและมหาวิทยาลัย ด้วยความตั้งใจและรับผิดชอบ ตลอดช่วงการทำงานในฐานะอาจารย์ที่นี่
ในแง่ของการสร้างสรรค์ผลงานวิจัย ที่ผ่านมาผลงานวิจัยของผมและคณะทำงานยังได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยระดับนานาชาติที่มีมาตรฐานสูง (high impact factor) มากกว่า 70 รายการ และผลงานนำเสนอในที่ประชุมทางวิชาการทั้งในระดับชาติและนานาชาติอีกประมาณ 100 รายการ นอกจากนี้ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยระดับนานาชาติ ของ ผมยังได้รับการอ้างอิง (Citation) มากกว่า 180 ครั้ง ผลจากการดำเนินการทางวิชาการอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบทำให้ผม ได้รับรางวัลผลงานวิจัยจากสภาวิจัยแห่งชาติ ( วช .) จากทุกประเภทรางวัล (รางวัลวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก รางวัลผลงานวิจัย และรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น) รวม 10 รางวัลซึ่งเป็นสถิติสูงสุดของประเทศ นับตั้งแต่มีการก่อตั้งสภาวิจัยแห่งชาติมา  และรางวัลวิจัยจากองค์กรอื่นกว่า 10 รายการ นอกจากนี้ผมยังให้ความสนใจงานวิจัยสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม ซึ่งนำมาสู่การจดสิทธิบัตรในนามมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กว่า 10 รายการ   ในแง่ของการก้าวสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ผมใช้เวลาเพียงประมาณ 6 ปี หลังจากจบปริญญาเอก ก็สามารถดำรงตำแหน่งทางวิชาการในระดับศาสตราจารย์ได้ ซึ่งเป็นสถิติที่เร็วที่สุดในประเทศคนหนึ่งในปัจจุบันเมื่อพิจารณาจากบรรดาศาสตราจารย์ทุกสายที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ ซึ่งบ่งบอกถึงความมุ่งมั่น ความมีวินัยและขยันมั่นเพียรในการทำงานของผม
ในบทบาทนักวิชาการระดับนานาชาติ ผมยังได้รับเกียรติให้เป็นประธานจัดการการประชุมวิชาการระดับนานาชาติกว่า 10 ครั้ง เป็นกรรมการผู้ตรวจสอบบทความในวารสารนานาชาติ กว่า 30 วารสาร ผมได้มีความร่วมมือวิจัยกับ ศาสตราจารย์วิจัยในมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกหลายแห่ง อาทิ University of California, Riverside, USA, Cornell University, USA, Cambridge University, UK. และ Nagaoka University of Technology, Japan เป็นต้น โดยเกือบทั้งหมดเชื่อมโยงกันภายใต้โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก ซึ่งความร่วมมือเชิงวิชาการกับนักวิจัยชั้นนำของโลก จะถูกนำมาเชื่อมโยงกับการพัฒนาเชิงวิชาการของคณะในอนาคต
นอกจากงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแล้ว ผมยังได้ให้ความสำคัญงานวิจัยเชิงสังคมศาสตร์ และมีผลงานวิจัยทางด้านนี้หลายรายการภายใต้การสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ อาทิเช่น สำนักงานวุฒิสภา รัฐสภา และสภาวิจัยแห่งชาติเป็นต้น

 

 

       top

 

หน่วยวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์จากไมโครเวฟในงานวิศวกรรม
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)
99 ม.18 ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทร. 02 5643001-9 ต่อ 3153 หรือ 3198
e-mail : ratphadu@engr.tu.ac.th