ทุกหน่วยงานของคณะจะถูกดูแลอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยใช้เทคโนโลยีจัดการสมัยใหม่ โดยยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหาร เน้นการมีส่วนร่วมของประชาคม

 

ความพร้อมของผม

จดหมายเปิดผนึก
"การเสนอตัวเพื่อเข้ารับการสรรหาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์"


นายผดุงศักดิ์ รัตนเดโช

"การรับความคิดเห็นที่แตกต่างนำมาสู่ความสามัคคีและพลังสร้างสรรค"



ข้อมูลเชิงตัวเลขของคณะ
SWOT Analysis

นโยบายและแนวทาง
การบริหาร

เกี่ยวกับตัวผม

ความพร้อมวิชาการ


ข้อมูลเชิงตัวเลขของคณะเราที่ควรรู้  และ
SWOT Analysis

หลายท่านอาจยังไม่ทราบว่าในแต่ละปีคณะเรามียอดเงินที่ต้องบริหารจัดการมากกว่า 270 ล้านบาท เรามีจำนวนคณาจารย์ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกถึง 85 ท่าน คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ ๘๒ ของจำนวนคณาจารย์ทั้งหมด ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงสุดในบรรดาคณะวิศวกรรมศาสตร์ทั้งประเทศ (ทั้งนี้ไม่นับรวมสถาบันศึกษาเฉพาะเช่น สถาบันวิจัยปิโตรเลียม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะพลังงานและวัสดุ มจธ. และ SIIT เป็นต้น)

ดังที่กล่าวข้างต้นเมื่อคณะเรามีคนมากขึ้น โปรแกรมการศึกษามากขึ้น ทรัพยากรที่จะต้องใช้ในการบริหารจัดการก็มากขึ้นตาม สิ่งเหล่านี้ย่อมก่อให้เกิดความยุ่งยากและซับซ้อนในการบริหารจัดการ ยิ่งคณะเราสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งรัฐ แน่นอนว่าเราจะบริหารงานแบบร้านสะดวกซื้อ เพื่อมุ่งแสวงหาผลกำไรแบบสุดโต่งก็ไม่ได้เพราะขัดกับ พ.ร.บ. การศึกษา เพราะมีข้อจำกัดในแง่ของการควบคุมคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ ในทำนองเดียวกันหากไม่มีรายได้จากการจัดการศึกษาโดยคณะเพื่อเลี้ยงตัวเองเลย โดยมุ่งหวังจากงบสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดินเพียงอย่างเดียวก็จะดูเหมือนกับว่าเป็นการบริหารจัดการไร้ประสิทธิภาพ สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ก็ได้มาถึงข้อสรุปว่า การที่เราจะบริหารจัดการคณะให้ได้ดุลยภาพ กล่าวคือได้ทั้งเงินและกล่องนั้น ย่อมต้องใช้เทคโนโลยีการจัดการในลักษณะเฉพาะที่เห็นผลรวดเร็วแต่มีความยั่งยืน และสิ่งสำคัญที่สุดอีกประการนอกเหนือจากคุณภาพการศึกษาและรายได้ของคณะแล้ว ก็คือ ความรู้สึกที่มีสุขในการทำงาน ความภาคภูมิใจและความรู้สึกที่มีความมั่นคงในหน้าที่การงานขององคาพยพในคณะของเรา ซึ่งเป็นสิ่งที่คณาจารย์และบุคลากรของคณะเราต้องการมากที่สุด ผมคิดว่าการที่เรามีความสุขในการทำงานและมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ย่อมก่อให้เกิดพลังสร้างสรรค์อันใหญ่หลวง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของทั้งผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ วัฒนธรรมองค์กรและสิ่งแวดล้อม กระผมได้เสนอตัวเป็นคณบดีซึ่งเป็นหัวหน้าทีมบริหารนั้น ในฐานะที่ว่าเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีส่วนที่จะทำให้คนในคณะมีความสุขในการทำงาน สามารถสร้างสรรค์สิ่งดีงาม และความมีประสิทธิภาพในการทำงาน ย่อมต้องเป็นส่วนสำคัญของการผลักดัน สนับสนุน และประสานงาน เพื่อก่อให้เกิดพลังสร้างสร้างสรรค์ในทุกภาคส่วน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย และบริหารจัดการโดยยึดหลักธรรมมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้ และไม่ยึดติดกับอำนาจ
อย่างที่เราทราบกันดีว่าคณะเราเติบโตขึ้นทุกวัน ปัญหาก็มีมากขึ้นตาม แม้ว่าคณบดีและทีมผู้บริหารทุกยุคทุกสมัยพยายามแก้ไข แต่ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะทำได้ทุกอย่าง เนื่องด้วยเทอมของการบริหารที่มีจำกัด การแก้ปัญหาก็แก้ได้บางประเด็นตามสถานการณ์ของแต่ละยุคและขึ้นอยู่กับการจัด priority ความเชี่ยวชาญและความโดดเด่นของคณบดีและทีมผู้บริหารแต่ละยุค ตลอดจนการสนองนโยบายของสภามหาวิทยาลัยที่เป็นองค์กรสูงสุด ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยเช่นกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้คิดว่าพวกเราเข้าใจได้เช่นกัน ในฐานะผู้ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ผู้บริหารใหม่ก็ควรเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ สิ่งไหนที่ผู้บริหารชุดก่อนทำไว้ดีแล้วก็ควรสนับสนุนต่อ สิ่งไหนที่ยังบกพร่องอยู่ก็ควรเข้ามาแก้ไขให้ดีขึ้นและเติมเต็ม และเชื่อมต่อกับนโยบายและพันธกิจใหม่ที่ผู้บริหารชุดใหม่สร้างสรรค์ขึ้นมาตามสถานการณ์
ข้อมูลส่วนที่นำเสนอต่อไปนี้นี้ (อ้างอิงปี 2553) อาจใช้เป็นประโยชน์ต่อการประเมินสถานการณ์คณะเราได้ ผมเป็นคนหนึ่งที่มักจะใช้ฐานข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เชิงประจักษ์ มาใช้ประกอบการวางแผนการทำงานมากกว่าที่จะใช้ความรู้สึกเพียงอย่างเดียวหรือข้อมูลที่เขาว่ามา สิ่งสำคัญที่สุดที่ผมให้ความเคารพมาก คือความเป็นตัวตนของคน ความหยิ่งในศักดิ์ศรีแต่ไม่ยโส และความมีเกียรติภูมิและจุดยืนของคนเอง และไม่แบ่งแยกชนชั้น

.

.

ข้อมูลบุคลากรสายวิชาการแยกตามประเภท

.

.

ข้อมูลบุคลากรสายเจ้าหน้าที่แยกตามประเภท

.

.

.

ข้อมูลนักศึกษาแยกตามประเภท

.

.

ผลการจัดสรรงบประมาณโครงการวิจัย (งบคลัง) คณะเราฯ ได้จำนวนงบประมาณน้อยกว่าคณะอื่นสายวิทยาศาสตร์สุขภาพและกายภาพหลายเท่า

.

งานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารนานาชาติแยกตามคณะในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2005-2010
(ข้อมูลจากฐานข้อมูล SCOPUS โดย ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช: December 15, 2010)

หมายเหตุ ข้อมูลนี้อยู่บนพื้นฐานของ: Affiliation = Thammasat University/Faculty of…
 Document Type = Article or Review (Not include Conference Paper, Letter, Thai Journal, etc.))

2011 Asian University Rankings by Subject: 
Asian University Rankings - IT & Engineering 445 universities

.

SWOT Analysis


ผมได้จัดทำ  SWOT Analysis เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจในคณะเรามากขึ้น ดังรายละเอียดข้างล่าง

จุดแข็งคณะเรา (Strengths)

  • มีชัยภูมิที่ดี
  • ความมีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยและคณะเป็นที่ยอมรับของหน่วยงาน อื่น ๆ
  • เป็นคณะวิศวฯ ที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ
  • คุณวุฒิของคณาจารย์ใหม่จบปริญญาเอกมีมากและมีศักยภาพสูง
  • อาจารย์มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญหลากหลาย
  • มีระบบเงินสมทบเสริมพิเศษ (Top up)
  • มีหลักสูตรที่มีความเชื่อมโยงกับสถาบันนานาชาติหลายแห่ง
  • บัณฑิตที่จบออกไปได้รับการยอมรับจากสังคมทั้งในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา
  • เป็นสถาบันที่มีหลักสูตรเฉพาะทั้งหลักสูตรภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • มีการจดสิทธิบัตรอย่างต่อเนื่อง
  • มีผลงานวิจัย/นักวิจัยที่เป็นที่ยอมรับทั้งระดับชาติและนานาชาติ
  • มีอุปกรณ์การเรียนรู้พื้นฐานครบครัน
  • มีบุคลากรที่มีความสามารถในการพัฒนาระบบ IT ให้แก่คณะ

.

จุดอ่อนคณะเรา (Weaknesses)

    • คุณภาพของนักศึกษามีความหลากหลายเมื่อเปรียบเทียบกันภายในคณะ
    • มีนักศึกษาที่เป็นชาวต่างชาติน้อย
    • นักศึกษาที่จบออกไปยังมีสัดส่วนของการได้งานทำในองค์กรชั้นนำไม่สูงมากนักเทียบกับมหาวิทยาลัยชั้นนำอื่นๆ
    • บุคลากรสายสนับสนุนส่วนหนึ่งขาดความเชี่ยวชาญในเชิงลึกในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล
    • บุคลากรสายวิชาการขาดการทำงานเป็นทีม
    • ขาดระบบการพัฒนาบุคลากรทุกระดับอย่างเป็นระบบ
    • จำนวนศิษย์เก่าที่มีส่วนร่วมในการช่วยพัฒนาคณะมีน้อย
    • ขาดช่องทางการให้ความช่วยเหลือจากศิษย์เก่าและองค์กรภายนอก
    • บุคลากรขาดการทำงานเป็นทีม ทำให้หน่วยงานภายนอกไม่เข้ามาร่วมมือ
    • ขาดความคล่องตัว กฎระเบียบไม่เอื้ออำนวย
    • มีบางหลักสูตรที่มีวิชาซ้ำซ้อนกัน
    • ห้องปฏิบัติการบางส่วนไม่ทันสมัยและขาดการบำรุงรักษาอย่างเป็นระบบ
    • ขาดการประชาสัมพันธ์/เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัย
    • ขาดโครงสร้างพื้นฐานในการสนับสนุนการทำวิจัย
    • ขาดการร่วมมือในการใช้เครื่องมือปฏิบัติการและเครื่องมือสำหรับวิจัย
    • ขาดการประชาสัมพันธ์/เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับบริการวิชาการและงานวิจัย
    • ขาดงบประมาณในการพัฒนาและปรับปรุงทางด้าน IT ในอนาคต
    • บุคลากรสายคณาจารย์ส่วนใหญ่ไม่มีบทบาทต่อองค์กรวิชาชีพหรือชุมชน
    • บทบาทของคณาจารย์ในระดับผู้นำเชิงวิชาการภายในประเทศยังเห็นไม่เด่นชัด
    • ขาดความเชื่อมโยงเชิงวิชาการกับมหาวิทยาลัยคู่สัมพันธ์ในโครงการ Twinning Program
    • การจัดลำดับผลสัมฤทธิ์เชิงวิชาการและวิจัยของคณะจากองค์กรประเมินภายนอกยังไม่ดี
    • บุคลากรสายคณาจารย์และบุคลากรสายเจ้าหน้าที่มีความห่างเหินกัน
    • ระบบสวัสดิการของบุคลากรคณะ(รวมถึงพนักงานงบรายได้ และพนักงานงบโครงการ) ยังไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน
    • ยังขาดแผนยุทธศาสตร์การวิจัยให้มีความชัดเจน มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นและสอดคล้องไปกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยในอีก 10 ปีข้างหน้า


    โอกาส (Opportunities)

      • มีโอกาสเพิ่มสัดส่วนนักศึกษาต่างชาติ
      • ผู้บริหารเห็นความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรของคณะ
      • มธ. เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
      • โอกาสของการร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกมีมากขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะของโลก
      • สาขาวิชาเป็นที่ต้องการของสังคม
      • มีความเชื่อมโยงกับศาสตร์ด้านอื่น ๆ ในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อความเป็นสหสาขา
      • มีแหล่งทุนวิจัยจำนวนมากจากภายนอก
      • มีหลักสูตรปริญญาโทและเอกจำนวนมาก
      • บุคลากรภายในคณะเรามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายในการพัฒนาประเทศ
      • บุคลากรภายในคณะเรามีโอกาสพัฒนาศักยภาพในการทำงาน
      • มีทุนจากรัฐบาลและองค์กรเอกชนพอสมควร
      • ความเป็นวิศวฯ มธ. มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ
      • มีช่องทางได้รับความช่วยเหลือด้าน IT จากองค์ภายนอก


      อุปสรรค (Threats)

      .

      • วุฒิภาวะผู้เข้าศึกษาลดลง
      • ความนิยมในสาขาวิศวฯ น้อยลง
      • นักศึกษามีทางเลือกมากขึ้น
      • สังคมขาดคุณธรรมและจริยธรรม
      • การเปลี่ยนแปลงระบบรับนักศึกษาเข้าศึกษา
      • เงินเดือนข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยเอกชนต่างกันมาก
      • มีผู้สนใจที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับศาสตร์เฉพาะทางน้อย จึงไม่สามารถหาบุคลากรเฉพาะทางที่จะมาทดแทน
      • ศิษย์เก่าที่ทำงานในภาครัฐหรือองค์กรรัฐวิสาหกิจมีจำนวนลดลง
      • มีสถาบันด้านวิศวฯ จำนวนมากที่แข่งขันกับวิศวฯ มธ ทั้งหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติ
      • ข้อจำกัดหรือกรอบหลักสูตรที่ตายตัวหรือถูกกำหนดโดยหน่วยงานอื่น
      • ผลการศึกษาของนักศึกษาเป็นอุปสรรคต่อการได้งานทำและการศึกษาต่อ
      • มีการแข่งขันในการทำวิจัยเรื่องเดียวกันจากสถาบันอื่น
      • มีงานบริการวิชาการมากเกินไปส่งผลกระทบต่องานวิจัย
      • สภาวะเศรษฐกิจของประเทศ เกิดภัยพิบัติบ่อยครั้งส่งผลต่องบประมาณด้านการศึกษาและวิจัย
      • มีการแข่งขันในการบริการวิชาการจากสถาบันอื่น
      • มหาวิทยาลัยและหน่วยงานภายนอกมองว่าคณะมีงบประมาณสนับสนุนเพียงพอ
      • การหาแหล่งทุนถูกจำกัดโดยนโยบายของภาครัฐ
      • ขาดการสนับสนุนที่เพียงพอในบางด้านจากมหาวิทยาลัย
      • กฎหมายควบคุมด้าน IT เข้มงวด
      • เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงเร็ว ทำให้ปรับตัวได้ยากในบางกรณี

             top

 

หน่วยวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์จากไมโครเวฟในงานวิศวกรรม
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)
99 ม.18 ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทร. 02 5643001-9 ต่อ 3153 หรือ 3198
e-mail : ratphadu@engr.tu.ac.th