ทุกหน่วยงานของคณะจะถูกดูแลอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยใช้เทคโนโลยีจัดการสมัยใหม่ โดยยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหาร เน้นการมีส่วนร่วมของประชาคม

 

ความพร้อมของผม

จดหมายเปิดผนึก
"การเสนอตัวเพื่อเข้ารับการสรรหาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์"


นายผดุงศักดิ์ รัตนเดโช

"การรับความคิดเห็นที่แตกต่างนำมาสู่ความสามัคคีและพลังสร้างสรรค"



ข้อมูลเชิงตัวเลขของคณะ
SWOT Analysis

นโยบายและแนวทาง
การบริหาร

เกี่ยวกับตัวผม

ความพร้อมวิชาการ


ความพร้อมของผมในการเสนอตัวครั้งน
ี้

           

    เมื่อมีการสรรหาคณบดีสมัยที่แล้ว ได้มีประชาคมส่วนหนึ่งเสนอให้ผมลง Candidate คณบดีด้วย แต่ผมก็ตอบปฏิเสธไป ด้วยเหตุผลว่า “ผมยังไม่พร้อม” และควรให้โอกาสท่านคณบดีท่านเดิมหรือ Candidate ท่านอื่นสมัยนั้นที่มีทั้งคุณวุฒิและวัยวุฒิดีกว่าผมได้มีโอกาสทำงานอย่างราบรื่น
ในความคิดผมตอนนั้นคือ ตามหลักสากลแล้วตำแหน่งคณบดี เป็นตำแหน่งที่มีเกียรติ เป็นตัวแทนของประชาคมทั้งคณะในการดำเนินกิจกรรมต่างๆทั้งในและต่างประเทศ ดังนั้นต้องมีความพร้อมทั้งแง่คุณวุฒิและวัยวุฒิและเป็นที่ยอมรับของประชาคม ดังนั้นผมจำเป็นต้องบริหารจัดการพันธกิจพื้นฐานของตนเองให้สำเร็จได้ก่อน พันธกิจที่ผมว่านั้นก็คือ การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการในระดับสูงสุดที่ผมมุ่งหวัง และการบริหารจัดการ Lab หรือหน่วยวิจัยของตนเองให้บรรลุมรรคผลตามหลักสากล เพราะหน่วยวิจัยก็คือแบบจำลองคณะนั่นเองซึ่งต้องมีองค์ประกอบของนักศึกษาทุกระดับ กลุ่มอาจารย์และนักวิจัย เงินทุนและระบบการบริหารจัดการ รวมถึงการบริหารความเสี่ยง และการบริการสังคม ปัจจุบันหน่วยวิจัยที่ผมดูแลคือ Research Center of Microwave Utilization in Engineering (R.C.M.E) มีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารนานาชาติไม่น้อยกว่า 12 เรื่องต่อปี มีผลงานยื่นจดสิทธิบัตรมากกว่า 10 รายการ และให้บริการแก่สังคมกว่า 80 โครงการ และในปีการศึกษาที่ผ่านมาสามารถผลิตบัณฑิตระดับปริญญาเอกได้ถึง 5 คน (ภายใต้ทุนสนับสนุนจากโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก: คปก. และทุนสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา: สกอ.) และที่ขาดไม่ได้คือการบริหารครอบครัวและบุพการีของผมเองซึ่งได้กระทำอย่างต่อเนื่องไม่ตกขาดบกพร่อง จวบจนถึงปัจจุบันนี้ผมสามารถบริหารจัดการพันธกิจพื้นฐานของตนเองดังที่กล่าวข้างต้นได้สำเร็จแล้วตามเจตนารมณ์ทุกประการ ถึง ณ ขณะนี้ผมมีความมั่นใจและสามารถตอบได้ว่า “ผมมีความพร้อม” ที่จะรับอาสาเข้ามาทำงานให้กับคณะฯอย่างทุมเท และสามารถที่จะนำเอาประสบการณ์ทั้งหมดมาประยุกต์ใช้เพื่อการบริหารคณะฯ ให้เจริญรุดหน้ายิ่งขึ้นไป
มีคณาจารย์บางกลุ่มทั้งที่กล่าวกับผมโดยตรงหรือมีการพูดคุยในวงแคบว่า ภาพลักษณ์ของอาจารย์ผดุงศักดิ์นั้นดูจะเป็นนักวิจัยสุดโต่ง แล้วจะมาทำงานบริหารคณะให้สำเร็จได้แน่หรือ? คำถามนี้เป็นคำถามอมตะสำหรับตัวผมมาอย่างยาวนาน ผมจึงขออนุญาตกล่าวแจ้งในจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ว่า
“หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่า ครึ่งชีวิตการทำงานของผมนั้น เป็นการทำงานในภาคเอกชนมาก่อนหลายแห่งด้วยกัน ผมเพิ่งมาเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยแห่งนี้เพียงแค่ ๘ ปีกว่า เท่านั้นเอง (ไม่นับช่วงเวลาศึกษาต่อระดับปริญญาเอก 4 ปี) การทำงานในภาคเอกชนของผมก่อนที่จะลาออกมาเป็นอาจารย์นั้น ผมได้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของบริษัทในเครือของ บริษัท ปตท. การได้มีโอกาสทำงานในตำแหน่งผู้บริหารนั้น ทำให้ผมมีโอกาสได้เรียนรู้หลักการบริหารองค์กรทั้งทางด้านการบริหารเงิน บริหารคน บริหารเทคโนโลยี และที่สำคัญที่สุดคือการบริหารความเสี่ยง (Risk Management) จากความรู้และประสบการณ์ตรงอันนี้ ผมได้นำมาใช้เป็นแนวทางเสมอมาในการทำงานและดำเนินการบริหารจัดการภารกิจที่ผมเคยได้รับมอบหมาย จนลุล่วงอย่างมีประสิทธิผลทุกกิจกรรม”
เช่นเดียวกัน ในระหว่างที่ผมปฏิบัติงานในสถานะอาจารย์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผมก็ได้ปรับตัวเรียนรู้พร้อมกับใช้ประสบการณ์ที่ได้จากการทำงานภาคเอกชนมาผสมผสานจน ทำให้ผมสามารถดำเนินตามแนวทางความมุ่งหมายได้แทบทุกประการ
ในระหว่างที่ปฏิบัติงานที่คณะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ผมได้รับการทาบทามจากองค์กรต่างๆทั้งในประเทศและต่างประเทศ  ด้วยค่าตอบแทนก้อนโตเพื่อเป็นค่า Consult แต่ผมก็ได้ปฏิเสธไปในทุกโอกาสด้วยเหตุผลที่ว่า ผมอยากทุ่มเทการทำงานแบบ Full time ให้แก่คณะฯดังนั้นผมจึงพิจารณารับทุนเฉพาะที่เป็นลักษณะ Academic Research โดยเฉพาะทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งเป็นต้นธารของการสร้างผลงานวิจัยโดยเชื่อมกลไกการพัฒนานักศึกษาควบคู่ไปด้วย ในการมีส่วนร่วมช่วยเหลือคณะฯนั้น ในช่วงที่ผมเพิ่งจบการศึกษาระดับปริญญาเอกคือปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ก็ได้รับเกียรติจากท่านคณบดีตอนนั้นคือรศ.ดร. วิโรจน์ บุญญภิญโญ  เชิญเข้าร่วมเป็นทีมบริหารในตำแหน่งผู้ช่วยคณบดี-รองคณบดีฝ่ายการนักศึกษา และในเวลาต่อมา ได้เปลี่ยนไปทำหน้าที่ในตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายวิจัยพร้อมๆกับทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการบัณฑิตศึกษาระดับภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลไปด้วย   ซึ่งผลการปฏิบัติงานในครั้งนั้น ผมได้ดำเนินการได้ครบถ้วนตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย กระนั้นก็ตามแม้ว่าจะมีภารกิจด้านบริหารเพิ่มขึ้นมา  แต่ผมก็ไม่ได้ละเลยที่จะทุ่มเทงานการสอนพร้อมกับการทำงานวิจัยไปด้วย ซึ่งแน่นอนว่าผมต้องบริหารเวลาของผมในแต่ละวันให้มีประสิทธิภาพเพื่อปฏิบัติภารกิจทุกๆ ด้านมิให้มีข้อบกพร่อง แม้กระทั่งผมได้พ้นตำแหน่งบริหารงานคณะมาแล้วหลายปี  ผมก็ยังเฝ้าติดตามดูพัฒนาการของคณะเราตลอดเวลาในทุกมิติและมีข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ประกอบในทุกด้าน ผมสามารถพูดได้เต็มปากว่า ผมเป็นคนหนึ่งในคณะที่มีความเข้าใจและรู้จักคณะมากที่สุดในยุคปัจจุบัน
ในส่วนของมหาวิทยาลัยนั้น ผมก็ได้มีส่วนช่วยเหลือมาตลอดในหลายปีที่ผ่านมาซึ่งประกอบด้วยมากมาย เช่น เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้แทนคณาจารย์กรรมการ TU-BI และอื่นๆ และล่าสุดมหาวิทยาลัยก็แต่งตั้งผมเป็นคณะทำงานที่สำคัญๆ ของมหาวิทยาลัย อาทิเช่น

  • คณะอนุกรรมการพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพวารสารทางวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • เป็นคณะกรรมการจัดตั้งศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • เป็นคณะกรรมการสถาบันภาษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • เป็นคณะกรรมการกำหนดแนวทางการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการ (Center of Excellence-CoE)
  • เป็นคณะทำงานมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ (National Research University: NRU)
  • เป็นคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานวารสารเอเชียตะวันออกศึกษา

และอื่นๆ

คณะทำงานดังกล่าวข้างต้นนี้มีความเชื่อมโยงโดยตรงกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ของพวกเราทั้งในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้  นอกจากงานมหาวิทยาลัยแล้วผมยังได้รับโอกาสเป็นคณะทำงานในองค์กรวิชาชีพและองค์กรวิชาการต่างๆมากมายเช่น เป็นกรรมการและผู้ริเริมก่อตั้งสมาคมวิศวกรเครื่องกลแห่งประเทศไทย (TSME)  เป็นอนุกรรมการฝ่ายวิชาการของสภาวิศวกร เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการของวุฒิสภา เป็นคณะกรรมการฝ่ายประเมิน...........ของ สกว.  เป็นคณะกรรมการบ่มเพาะนักประดิษฐ์รุ่นใหม่ของสภาวิจัยแห่งชาติ   เป็นคณะกรรมการประเมินผลงานทางวิชาการของ สกอ. เป็นต้น   การทำงานในลักษณะหลากหลายมิติแบบ 360 องศาของผม ทำให้ผมได้เรียนรู้ที่จะผสมผสานและบูรณาการแนวความคิดและแนวปฏิบัติ สำหรับการดำเนินงานของผมในทุกภารกิจจนลุล่วงไปด้วยดีตลอดมา ซึ่งประสบการณ์หลายด้านของผมดังที่กล่าวมาข้างต้นนี้  จะได้ถูกนำมาใช้ในการบริหารจัดการคณะวิศวกรรมศาสตร์ของเราอย่างเต็มประสิทธิภาพ  ถ้าหากท่านทั้งหลายให้โอกาสแก่ผม

        top

 

 

หน่วยวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์จากไมโครเวฟในงานวิศวกรรม
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)
99 ม.18 ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทร. 02 5643001-9 ต่อ 3153 หรือ 3198
e-mail : ratphadu@engr.tu.ac.th