ทุกหน่วยงานของคณะจะถูกดูแลอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยใช้เทคโนโลยีจัดการสมัยใหม่ โดยยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหาร เน้นการมีส่วนร่วมของประชาคม

 

ความพร้อมของผม

จดหมายเปิดผนึก
"การเสนอตัวเพื่อเข้ารับการสรรหาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์"


นายผดุงศักดิ์ รัตนเดโช

"การรับความคิดเห็นที่แตกต่างนำมาสู่ความสามัคคีและพลังสร้างสรรค"



ข้อมูลเชิงตัวเลขของคณะ
SWOT Analysis

นโยบายและแนวทาง
การบริหาร

เกี่ยวกับตัวผม

ความพร้อมวิชาการ


เกี่ยวกับตัวผม

ผมเกิดที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นบุตรคนที่ 2 จากพี่น้องทั้งหมด 3 คน มาจากครอบครัวฐานะปานกลาง ประกอบอาชีพธุรกิจค้าขายและทำสวนยางพารา มีความมุ่งมั่นในการประกอบวิชาชีพวิศวกร จึงเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลที่บางมด (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีในปัจจุบัน) โดยตรงที่เดียว โดยไม่เลือกที่อื่นไว้เลย
ผมจบการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้วได้งานทำเป็นวิศวกรเครื่องกลที่บริษัท เชลล์ แห่งประเทศไทย ทำงานได้ประมาณปีครึ่ง ผมก็เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทวิศวกรรมเครื่องกลที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบการศึกษาแล้วก็ได้ทำงานที่บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) ( ATC) ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ ปตท. กระผมทำงานที่นี่โดยไต่เต้าจากวิศวกรเครื่องกลตำแหน่งธรรมดา ขึ้นมาจนได้รับตำแหน่งผู้จัดการส่วนวิศวกรรมภายในระยะเวลา 3 ปี ซึ่งตำแหน่งนี้กระผมต้องมีความรับผิดชอบสูง ควบคุมดูแลวิศวกรสาขาต่าง ๆ หลายสิบคน และทำงานประสานกับวิศวกรต่างประเทศหลายสิบคนเช่นกัน กระผมถือว่าเป็นวิศวกรทีมแรกของประเทศไทยที่เข้าทำงานในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและโรงกลั่นน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดของประเทศและของเอเชีย (ปัจจุบันบริษัท ATC ได้เปลี่ยนเป็นบริษัท PTT-AR หลังจากที่ ปตท. เข้าควบรวมกิจการกับบริษัท Rayong Refinery ของบริษัทเชลล์ ซึ่งปัจจุบัน PTT-AR เป็นบริษัทที่มีมูลค่าทรัพย์สินกว่า 2 แสนล้านบาท ถือว่าเป็นองค์กรที่มีขนาดใหญ่และเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยที่สุดในประเทศ
ในวันที่ 30 ตุลาคม 2540 ผมได้เปลี่ยนเส้นทางชีวิตอีกครั้ง จากวิศวกรนักบริหารที่มีรายได้สูง มีรถยนต์ประจำตำแหน่ง มารับตำแหน่งอาจารย์ที่จะต้องมาใช้ชีวิตอย่างพอเพียง (ตามกลไกธรรมชาติบังคับ) ด้วยเงินเดือนเริ่มต้นที่น้อยกว่าเดิมหลายเท่า หนึ่งในคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ครั้งนั้น คือ ท่านอาจารย์เกียรติขจรและอาจารย์ชาวสวน ได้สอบถามผมว่า คุณผดุงศักดิ์ คุณมีเหตุผลอะไร ที่จะเปลี่ยนการทำงานจากบริษัทซึ่งมีตำแหน่งที่ดี เงินเดือนที่ดี มาเป็นอาจารย์ซึ่งมีเงินเดือนประมาณเก้าพันบาท ผมตอบกลับว่า ผมไม่ได้ยึดเรื่องเงินเดือนเป็นประเด็นหลัก แต่ผมเพียงเพียงอยากเป็นครู และอยากทำวิจัยเชิงวิชาการพร้อมทั้งมีโอกาสได้ถ่ายทอดความรู้ที่สั่งสมมาจากการทำงานเชิงปฏิบัติจริงในภาคเอกชนให้นักศึกษาได้รับรู้ นับโชคดีที่คณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ในครั้งนั้น ได้รับกระผมเข้าทำงานที่นี่ ซึ่งต้องขอบพระคุณคณะกรรมการทุกท่านย้อนหลังในที่นี้ด้วยครับ ที่เปิดโอกาสให้ผมได้ทำงานในสิ่งที่ผมรัก
ผมมาทำงานในภาควิชาครบ 1 ปี ผมก็ไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่ Nagaoka University of Technology ที่ประเทศญี่ปุ่น ด้วยทุนมอนบูโช (ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น) เป็นเวลา 4 ปี โดยหัวข้อวิทยานิพนธ์ผมเป็นวิจัยทางด้าน Computational heat and mass transfer in porous media ในการศึกษาครั้งนี้ผมได้ทุ่มเทอย่างเต็มความสามารถเพื่อเรียนรู้และได้ซึมซับเทคนิคการทำวิจัย การวางแผนการวิจัย และการทำงานเป็นทีมและหลักการบริหารงานงานวิจัย
ในปี พ.ศ. 2546 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกของกระผมได้ถูกคัดเลือกจากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (สภาวิจัยแห่งชาติ) ให้เป็นวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกระดับดีเยี่ยม สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย ซึ่งเป็นวิทยานิพนธ์เล่มแรกของประเทศที่ได้รับรางวัลระดับสูงสุด
เมื่อปี 2545 ผมได้ทำวิจัยเพิ่มเติมในโปรแกรม Post Doc ทางด้าน Statistical Modeling บนพื้นฐานของระเบียบวิธี Lattice Boltzmann กับ Prof. H.T.Davis จาก University of Minnesota, Twin Cities ประเทศสหรัฐอเมริกา นับว่าผมโชคดีทีเดียว ที่ได้ผ่านประสบการณ์กระบวนการทำวิจัย ทั้งจากประเทศญี่ปุ่นและประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่ทำให้กระผมสามารถดำเนินการวิจัยและบริหารโครงการวิจัยได้อย่างประสิทธิภาพในเวลาต่อมา
ผมยังเคยได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลครูดีเด่นระดับภาควิชา เมื่อปี 2551 อีกทั้งเป็นนักวิชาการเพียงคนเดียวของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติผู้สร้างชื่อเสียงทางด้านการวิจัยให้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 8 ปีติดต่อกัน อีกทั้งได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติผู้สร้างชื่อเสียงให้กับคณะวิศวกรรมศาสตร์ 6 ปีติดต่อกัน เช่นกัน
ผลจากการปฎิบัติหน้าที่ได้ครบถ้วนทุกมิติดังที่กล่าวข้างต้น ส่งผลทำให้ ผมได้รับการคัดเลือกจากสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติเป็น กีรตยาจารย์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี 2553  ซึ่งเป็นรางวัลเกียรติยศสูงสุดอันหนึ่งของผม

 

        top

 

หน่วยวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์จากไมโครเวฟในงานวิศวกรรม
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)
99 ม.18 ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทร. 02 5643001-9 ต่อ 3153 หรือ 3198
e-mail : ratphadu@engr.tu.ac.th